ได้มีพระราชกฤษฏีกาจัดเขตชุมชนในตำบลที่ตั้งศาลาว่าการจังหวัดนราธิวาส
เป็นเทศบาลเมือง
นราธิวาสจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๙
และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล
เมืองนราธิวาส เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๙๙ มีพื้นที่ทั้งหมด
๗.๕ ตารางกิโลเมตร
เทศบาลเมืองนราธิวาส
มีพื้นที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางนราและฝั่งทะเลอ่าวไทย
ดังนั้นจึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นธรรมชาติเทศบาลเมืองนราธิวาส
มีประชากรจำนวน
๔๑,๘๒๕ คน ชาย ๒๐,๔๗๔ คน และ หญิง ๒๑,๓๕๑ คน จำนวนบ้าน ๑๕,๕๐๖
หลัง (ณ เดือน
ธันวาคม ๒๕๖๒)
ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือทำการประมงขนาดเล็กนอกจากนั้นยังมีการ
ประกอบธุรกิจการค้าธุรกิจการพาณิชย์และธุรกิจการบริการบ้าง
ส่วนการอุตสาหกรรมในเขต
เทศบาลส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงงานยาง
โรงงานทำผ้าบาติก - ปาเต๊ะ
แพปลา
ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน
สินค้าพื้นเมือง
ซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อและสร้างรายได้ให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้แก่
ข้าวเกรียบปลาย น้ำบูดู
ผ้าบาติก เรือกอและจำลอง
และจากที่ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลนับถือศาสนาอิสลาม
จึงทำให้ประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น
การแต่งกาย ศิลปะ
การแสดงพื้นเมือง เช่น
ซีละ(ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว)
ลิเกฮูลู (การขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะ)
รองเง็ง (การแสดงพื้นเมือง) กรือโต๊ะ
(กลองที่มีลักษณะคล้ายโอ่งใช้ตีในงานพิธีสำคัญๆ)
บานอร์
(กลองที่มีลักษณะแบน ใช้ตีในงานพิธีต่างๆ)
ปัจจุบันสำนักงานเทศบาลเมืองนราธิวาส ตั้งอยู่ที่
ถนนพิชิตบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
เทศบาลเมืองนราธิวาส ได้รับการพัฒนาในหลายๆด้าน
สร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นมากขึ้น
อาคารบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่าง ๆ
มีความสะอาดและความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยมากยิ่งขึ้นแม้ว่าในเขตเทศบาลจะมีประชากรนับถือศาสนาที่แตกต่างกันแต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหา
และอุปสรรคในวิถีชีวิตความเป็นอยู่
ประชาชนในท้องถิ่นต่างยึดถือระเบียบ
ประเพณีอย่างเคร่งครัด ใช้ชีวิตอย่างสงบสุข
สิ่งเหล่านี้จึงช่วยเสริมให้เมืองนราธิวาสน่าอยู่ยิ่งขึ้น
ดังคำขวัญ
"เมืองนรา น่าอยู่"