๑. นโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
๑.๑ ด้านการศึกษา
- ส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานของโรงเรียนในสังกัดให้มีความเด่นในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านภาษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านสันทนาการ ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น และผลักดันให้เป็นโรงเรียนตัวเลือกอันดับต้นๆ ภายในจังหวัดสำหรับผู้ปกครองและนักเรียน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาและการฝึกอบรม โดยเทศบาลจะเป็นองค์กรหลักในการสนับสนุนเตรียมพร้อมและระดมทรัพยากรจากเอกชน เครือข่ายครอบครัวชุมชนและส่วนราชการอื่นๆ
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ TK Park Narathiwat ให้มีการบริการที่มีความหลากหลาย สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของเยาวชนและประชาชนในพี้นที่
๑.๒ ด้านสาธารณสุข
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองนราธิวาสที่มีมาตรฐาน มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพได้รับมาตรฐาน และมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานของเทศบาล รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมดำเนินการ
- สนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในพื้นที่ได้มีบทบาทในการทำงานในพื้นที่อย่าง
มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำงานและรวบรวมข้อมูล
๑.๓ ด้านสวัสดิการสังคม
- ปรับปรุงและส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเพื่อให้เป็นที่ไว้วางใจ และลดภาระการเลี้ยงดูของบิดา มารดา ให้ได้มีเวลาในการประกอบอาชีพอย่างเต็มที่
- ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุ
- ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มสตรีและกลุ่มมุสลีมะห์
- ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน
- การอุดหนุนงบประมาณให้เป็นทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่เรียนดี มีคุณธรรมแต่ยากจนและเด็กกำพร้า
- เตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุโดยยึดหลักการให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
๑.๔ ด้านการกีฬา นันทนาการและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- ปลูกจิตสานึกของประชาชนและเยาวชนให้หันมาสนใจกีฬาและเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการจัดแข่งกีฬาเชื่อมความสามัคคีทุกชุมชน
- จัดให้มีสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ลานกีฬา ลานแสดงกิจกรรมสำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่
- ยกระดับสนามกีฬาของเทศบาลให้มีความพร้อมและได้มาตรฐานในทุก ๆ ด้าน เพื่อรองรับการจัดแข่งขันกีฬาในพื้นที่ และให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้บริการอย่างทั่วถึง
- สนับสนุนให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาที่มีความหลากหลายในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น
- สนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนและประชาชนให้เล่นกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
๒. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๒.๑ ปรับปรุงและจัดระบบผังเมืองให้สอดคล้องและรองรับการขยายตัวของเมืองอย่างเหมาะสม รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมชุมชนเมืองให้มีความเป็นระเบียบและน่าอยู่มากขึ้น
๒.๒ จัดวางโครงสร้างระบบการระบายน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับและระบายน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๓ ปรับปรุงถนนและทางเท้าให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัย รวมทั้งประดับตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับ ให้เกิดความร่มรื่นสวยงาม ส่งเสริมให้มีพื้นที่ทางเท้าให้ประชาชนได้สัญจรไปมาอย่างปลอดภัย
๒.๔ สร้างและปรับปรุงถนน ผิวจราจรให้มีความสะดวกแก่การสัญจรและได้มาตรฐาน
๒.๕ สนับสนุนให้ทุกชุมชนในเขตเทศบาล สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
๓. นโยบายด้านเศรษฐกิจ
๓.๑ สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว อาทิ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้มีกิจกรรมท่องเที่ยวมากขึ้น ใช้เวลาพำนักในพื้นที่นานวันขึ้น เกิดการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นและเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชนเพิ่มขึ้น
๓.๓ จัดตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในเขตเทศบาล ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
๓.๔ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพ โดยจัดฝึกอบรมอาชีพพัฒนาฝีมือ เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้
๓.๕ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว หาดนราทัศน์ ให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน โดยเน้นด้านการจัดการพื้นที่
ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้านความสะอาด ด้านสุขอนามัย และพัฒนาอาคาร 30 คูหา ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
๔. นโยบายด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงเรื่องมลพิษ สิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือก การลดภาวะโลกร้อน ลดการใช้ถุงพลาสติก และการจัดให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น
๔.๒ บริหารจัดการและพัฒนาระบบการจัดการขยะ ตั้งแต่การจัดเก็บขยะต้นทาง การคัดแยกขยะ และการกำจัดขยะให้มีประสิทธิภาพ
๔.๓ บริหารจัดการและพัฒนาระบบการระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั้งพื้นที่เทศบาล ตลอดจนปรับปรุง ซ่อมแซม ขุดลอกคูคลอง เพื่อให้น้ำไหลผ่านสะดวกขึ้น
๔.๔ รณรงค์ให้ทุกภาคส่วน ประชาชนทุกเพศทุกวัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อมให้สวยงามอยู่เสมอ
๔.๕ ดูแลความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เน้นการป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ถูกรุกล้ำและทำลาย
๕. นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
๕.๑ จะสนับสนุนและส่งเสริมการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยจัดให้มีมาตรการป้องกันและพัฒนาระบบข้อมูล รวมถึงการเฝ้าระวังในลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลร่วมกัน ทั้งภาครัฐ เทศบาล และอาสาสมัครในพื้นที่
๕.๒ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและระงับอัคคีภัย โดยจะดำเนินการจัดให้มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดหาอุปกรณ์ดับเพลิงติดตั้งในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างทั่วถึง การกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย การฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังสนับสนุนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการเสริมสร้างระบบเฝ้าระวังติดตามและเตือนสาธารณภัย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบบูรณาการ
๕.๓ การจูงใจจากทุกภาคส่วนในการลด ละ เลิกอบายมุข ใช้มาตรการทางกฎหมายและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการควบคุมสถานบริการ โรงแรม และตรวจตราหอพักเอกชน สถานประกอบการต่าง ๆ ไม่ให้เป็นแหล่งมั่วสุมทางอบายมุขของเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง
๖. นโยบายด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๖.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของทุก ๆ ศาสนา อย่างเท่าเทียมกัน
๖.๒ พัฒนาและสนับสนุนศาสนสถานของทุก ๆ ศาสนา ให้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับประชาชนในการเข้าร่วมการปฏิบัติศาสนกิจมากยิ่งขึ้น
๖.๓ ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของวัฒนธรรมในพื้นที่ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตประเพณีค่านิยมที่ดีงาม และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
๖.๔ สนับสนุน ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่มีคุณค่าของท้องถิ่น โดยการจัดกิจกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรม การละเล่น ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไปและแพร่หลายกลายเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไปอย่างทั่วถึง
๗. นโยบายด้านการเมืองและการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
๗.๑ ส่งเสริมและปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในทางการเมือง และการบริหารในฐานะพลเมืองที่ร่วมคิด ร่วมพัฒนาแก้ไขปัญหาตามระบอบประชาธิปไตย ส่งเสริมบทบาทของชุมชนให้เป็นแกนหลัก และสร้างเครือข่ายในการพัฒนาแก้ไขปัญหา เพื่อเชื่อมประสานระหว่างเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลและประชาชนในระดับพื้นที่ ตลอดจนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม
๗.๒ จัดระบบการบริหารงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ที่เรียกว่า “หลักธรรมาภิบาล” มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของเทศบาลได้อย่างเท่าเทียม ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
๗.๓ ปรับปรุงระบบประชาสัมพันธ์ของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพ และมีความหลากหลาย สามารถให้ข่าวสาร ความรู้ สาระและการบันเทิงแก่ประชาชน โดยการพัฒนาระบบประชาสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามนโยบายข้างต้น พร้อมที่จะได้รับการปรับปรุงตามสภาพปัญหาและความต้องการของพี่น้องประชาชน รวมถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต การบริหารงานจะดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความมุ่งมั่นให้เทศบาลมีความเจริญก้าวหน้าเป็น “เทศบาลเมืองนราน่าอยู่”
ทั้งนี้ นโยบายที่กล่าวถึงสามารถพัฒนา แก้ไขและเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ ตามสถานการณ์ ตลอดจนภาวะของสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้ประชาชนชาวเทศบาลเมืองนราธิวาสได้รับประโยชน์สูงสุด และสุดท้ายนี้ กระผมขอขอบพระคุณท่านประธานสภาเทศบาลและสมาชิกสภาเทศบาลทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้โอกาสในการแถลงนโยบายก่อนที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ
ขอขอบคุณ
นายไพซอล อาแว
นายกเทศมนตรีเมืองนราธิวาส