ประธานชุมชน
นายอารูวี บินหะยีดอเลาะ
โทร.๐๘๙-๖๕๔๗๔๑๑
คำขวัญ
ขนมหวานขึ้นชื่อ เลื่องลือการศึกษา ประเพณีแข่งเรือ อยู่คู่คลองยะกัง
วิสัยทัศน์ (Vision)
ชุมชนก้าวหน้า ประชาร่มเย็น หนึ่งเดียวด้านการศึกษา
ประวัติความเป็นมาของชุมชน
สองข้างทางตัวเมืองนราธิวาสที่มีถนนทอดยาวผ่านจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์มุ่งเข้าสู่ชุมชนแห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยการทำธุรกิจค้าขายริมฟุตบาท นี่คือ “ชุมชนยะกัง”ซึ่งมีจุดเด่นขึ้นชื่อในเรื่องการทำขนมพื้นเมืองมลายูรสเลิศ มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับมายาวนาน ขนมฝีมือชาวบ้านที่นี่ถูกส่งไปขายไกลถึงประเทศมาเลเซีย
ชุมชนยะกังตั้งอยู่ที่ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ประวัติความเป็นมาจากชื่อที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้ ได้มีการบอกเล่าต่อ ๆ กันจากอุสตาสผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนว่า “ในสมัยก่อนชุมชนแห่งนี้มีต้นไม้ต้นหนึ่งชื่อ “ต้นตางอ” หรือเป็นที่รู้จักกันว่า “ต้นยะกัง” เป็นต้นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่และสูงมากต้นหนึ่ง มีลักษณะเด่นกว่าต้นอื่นๆ ที่ต้นไม้นี้สามารถนำไม้มาสร้างเป็นเรือได้ ลักษณะพิเศษของไม้นี้คือ มีน้ำหนักเบา ทนทานกับน้ำได้ดี น้ำไม่สามารถที่จะเข้าได้ง่าย เหมาะสำหรับสร้างเรือเป็นอย่างมากเช่น “เรือกอและ"
อุสตาสได้เล่าต่อไปว่า “สมัยก่อนมีท่าเรือที่ใหญ่ในชุมชนแห่งนี้ ที่มีพ่อค้าแม่ค้าในต่างถิ่นมาจากหลากหลายพื้นที่มาทำการค้าขายที่ท่าเรือแห่งนี้ โดยเฉพาะคนจีนที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลักนิยมมาค้าขายที่นี่เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการค้าขาย จึงไม่หน้าแปลกใจที่อาชีพหลักของคนที่นี่คือ การค้าขาย ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้และต่อมาชุมชนยะกังได้มีการแบ่งเป็น 2 เขตคือ ชุมชนยะกัง 1 และชุมชนยะกัง 2 ประมาณปี พ.ศ. 2510 ทางเทศบาลได้มีการแบ่งเขตให้มีการปกครองเป็น 2 เขต เพื่อสามารถปกครองได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากชุมชนแห่งนี้มีประชากรอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่น ทางเทศบาลจำเป็นที่จะต้องมีการแบ่งเขตเป็น 2 เขต คือ ชุมชนยะกัง 1 และชุมชนยะกัง 2
ที่ตั้ง
บ้านยะกัง ตั้งอยู่ที่ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย ๔๐๕๕ (อำเภอเมือง – อำเภอระแงะ) ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อ ชุมชนยะกัง ๒
ทิศใต้ ติดต่อ สะพานคลอง ยะกัง ๑
ทิศตะวันออก ติดต่อ คลองยะกัง ๑
ทิศตะวันตก ติดต่อ คลองชลประทาน
การคมนาคม
การเดินทางสู่บ้านยะกัง จากสำนักงานเทศบาลเมืองนราธิวาส ตามถนนสายหลักพิชิตบำรุง ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร มีสภาพการคมนาคมสะดวก ถนนลาดยางตลอดสายมีรถประจำทาง สามารถสัญจรไปมาได้สะดว
ประชากรทั่วไปและประชากร
จำนวนครัวเรือน ๓๔๒ ครัวเรือน
ประชากร ๑,๗๕๐ คน
- ชาย ๘๓๒ คน
- หญิง ๙๑๘ คน
สภาพทางเศรษฐกิจ/สภาพทางสังคม
ชุมชนบ้านยะกัง ส่วนใหญ่คนในพื้นที่มีการประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก จะขายขนมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงแต่สมัยโบราณ ขนมที่กล่าวถึง เช่น ขนมอาเกาะ ขนมเปียนา ขนมแนะบะ(สีแดง) ปูตู แบแป ขนมไข่ และอื่น ๆ อีกมากมายล้วนแล้วผู้คนให้ความนิยมบริโภคและส่งออกไปยังพื้นที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “มาเลเซีย” จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ก็ยังคงรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านให้คงอยู่กับลูกหลานตลอดไป
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้าน
บาติกหรือผ้าปาเต๊ะเป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิม จะใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน คำว่า บาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ จึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิต โดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีที่จุด ๆ นั้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน
๑. นายมะยูโซ๊ะ บินเซ็ง ที่อยู่ ๑๘/๒ ถ.ยะกัง ๑ หมอพื้นบ้าน
ผู้มีความรู้ด้านฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ช่างแกะ หัตถกรรม/จักรสาน ทอผ้า
๑. นายสมภพ บินแวดอเลาะ อยู่บ้านเลขที่ ๔๕ ถ.ยะกัง ๑ ช่างไม้ทำเฟอร์นิเจอร์
๒. นายเอกชัย ลีลาอมรเดช อยู่บ้านเลขที่ ๖ ซ.๒ ถ.ยะกัง ๑ ช่างไม้ทำเฟอร์นิเจอร์
๓. นางรอมือละ ดิง อยู่บ้านเลขที่ ๑๘/๑ ถ.ยะกัง ๑ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า
๔. น.ส.อายูซะ ยูโซะ อยู่บ้านเลขที่ ๑๓ ซ.๓ ถ.ยะกัง ๑ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า
ผู้มีความรู้ด้านการเกษตร เช่น การเพาะปลูก ขยายพันธ์
๑. นายวัชรพงษ์ แวหะมะ ที่อยู่ ๒๓ ถ.ยะกัง ๑
ผู้มีความรู้ด้านถนอมอาหาร
๑. นางแสมสีเยาะ แวดือมาลอ อยู่บ้านเลขที่ ๓๐ ถนนยะกัง ๑
๒. นางแมะนะ หินาแวหะมะ อยู่บ้านเลขที่ ๒๘ ถนนยะกัง ๑
กลุ่มองค์กร
๑. กลุ่มสัจจะชุมชนยะกัง ๑
จุดเด่นของชุมชน/สิ่งที่เอกลักษณ์ของชุมชน/สถานที่ท่องเที่ยว
๑. มีคลองที่ยะกังที่อุดมสมบูรณ์ สามารถให้คนในชุมชนประกอบอาชีพปร ะมง (เรือเล็ก) การหากุ้ง เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
๒. ชุมชนยะกัง เป็นชุมชนเก่าแก่ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานาน ในเรื่องการทำขนมพื้นเมือง(ดั้งเดิม) ที่รู้จักกันแพร่หลายก็จะเป็นขนมอาเกาะ เปียนา ขนมไข่ ปูตู แสมา ขนมเจาะหู ขนมแบกอ ฯลฯ ซึ่งชุมชนยะกังเป็นชุมชนที่บุกเบิกทำขนมประเภทนี้
สิ่งสาธารณประโยชน์ในชุมชน
๑. มัสยิดอัลยุมอียะห์ อัลยากานียะห์
๒. โรงเรียนเทศบาล ๓ บ้านยะกัง ๑
๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนเทศบาล ๓ (ก่อนปฐมวัย)
๔. ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) บ้านยะกัง
๕. ศูนย์กีรออาตี (บ้านยะกัง ๑)
แผนที่ชุมชน